หน้าแรก นานาสาระ สมัครสมาชิก วิธีการสั่งซื้อ ติดต่อเรา
 
ประกันภัยรถยนต์
พรบ. รถยนต์ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 ชำระภาษี / ต่อทะเบียนรถยนต์
ประกันภัยประเภทอื่นๆ
ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยการเดินทาง ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ประกันภัยโรคมะเร็ง ประกันภัยผู้เล่นกอล์ฟ ประกันรถมอเตอร์ไซค์ 3+ ประกันรถมอเตอร์ไซค์หาย
บริการอื่นๆ
ประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี
HOTLINE :
(081) 567-0709
(085) 484-2882
ยินดีให้คำปรึกษาทุกปัญหาเรื่องประกัน
 
ประกันอัคคีภัย (FIRE INSURANCE)
รายละเอียดและเบี้ยประกันอัคคีภัยแต่ละบริษัท
เปรียบเทียบประกันภัยอัคคีภัยมาตรฐานกับแบบแพ็คเกจ
LMG ประกันภัย / ประกันภัยอัคคีภัย - HOME SECURE PLUS
LMG ประกันภัย / ประกันภัยอัคคีภัย - HOME VALUE
ทิพยประกันภัย / ประกันภัยอัคคีภัย - บ้านทิพย ยิ้มได้ + ภัยพิบัติ

ความสำคัญของการเอาประกันอัคคีภัย
การประกันอัคคีภัย เป็นการประกันวินาศภัยประเภทหนึ่ง ผู้เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีทรัพย์สินที่เอาประกันภัยได้รับความเสียหาย การทำประกันอัคคีภัยจึงสามารถบรรเทาความเสียหายและสามารถลดภาระความเดือดร้อนด้านการเงินได้ในระดับหนึ่ง

ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
การประกันอัคคีภัยให้ความคุ้มครองการสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ตามหลักการประกันภัยทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยจะเอาประกันภัยได้นั้น หมายความว่าผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสีย เมื่อทรัพย์สินนั้นได้รับความเสียหาย ซึ่งก็คือเจ้าของทรัพย์สินนั่นเอง หรืออาจจะเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้รักษาทรัพย์ก็ได้ อันได้แก่
1. ตัวอาคาร (สิ่งปลูกสร้างไม่รวมฐานราก)
2. เฟอร์นิเจอร์และเครื่องติดตั้งตรึงตรา
3. เครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ
4. สต็อกสินค้า

ประกันอัคคีภัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย
ความคุ้มครอง
- ไฟไหม้
- ฟ้าผ่า
- ภัยระเบิด
- ภัยจากยวดยานภาหนะ (รวมถึงช้าง ม้า วัว ควาย)
- ภัยอากาศยาน
- ภัยเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมถึงภัยน้ำท่วม)
2. ประกันอัคคีภัยสำหรับธุรกิจ
ความคุ้มครอง
- ไฟไหม้
- ฟ้าผ่า
- การระเบิดจากแก๊สหุงต้มที่ใช้สำหรับทำแสงสว่าง หรือเพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น

ภัยที่สามารถซื้อเพิ่มเติมได้
1. ภัยจากลมพายุ
4. ภัยจากยวดยานภาหนะ
7. ภัยจากน้ำท่วม
10. ภัยระอุ
2. ภัยจากระเบิด
5. ภัยจากควัน
8. ภัยเนื่องจากน้ำ
11. ภัยจากลูกเห็บ
3. ภัยจากอากาศยาน
6. ภัยแผ่นดินไหว
9. ภัยจลาจลและนัดหยุดงาน
12. ภัยจากการกระทำอันป่าเถื่อน หรือ การกระทำอันมีเจตนาร้าย
13. ภัยต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า (กำหนดทุนประกันจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ตัวที่มีมูลค่าสูงที่สุดเป็นหลัก)

จำนวนเงินเอาประกันภัยที่เหมาะสม
เงื่อนไขการรับประกันของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย มีเงื่อนไขอันหนึ่งว่าด้วยการประกันภัยทรัพย์สินต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ให้ถือว่าผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประกันภัยเองในส่วนที่แตกต่าง ต้องรับภาระส่วนเฉลี่ยการเสียหายตามส่วนทุก ๆ รายการ ผู้เอาประกันภัยจึงควรให้ความสำคัญในมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย แต่มิใช่เอาประกันเกินมูลค่าความเป็นจริง เพราะการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะชดใช้ตามความเสียหายที่เป็นจริง ณ.วันที่เกิดเหตุเท่านั้น
จำนวนเงินที่แนะนำให้เอาประกันภัย ไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริง เพราะบริษัทจะคำนวณชดใช้ค่าสินไหมให้กับผู้เอาประกันภัยตามความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับภาระส่วนเฉลี่ยตามเงื่อนไข

ขั้นตอนการขอเอาประกันอัคคีภัย
ในการขอเอาประกันอัคคีภัย เบื้องต้นให้ผู้ขอเอาประกันภัยกรอกข้อมูลในใบคำขอเอาประกันอัคคีภัยเสียก่อน ข้อมูลที่บริษัทต้องทราบประกอบด้วย
  • ชื่อผู้ขอเอาประกันภัย ซึ่งต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สิน
  • สถานที่ตั้งทรัพย์สินที่ประสงค์ขอเอาประกันภัย
  • การใช้สถานที่หรือประกอบกิจการประเภทใด
  • ลักษณะสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างไร
  • จำนวนเงินเอาประกันภัย และรายละเอียดทรัพย์สินที่ประสงค์ขอเอาประกันภัย
  • ต้องการคุ้มครองภัยเพิ่มพิเศษ นอกเหนือจากความคุ้มครองพื้นฐานหรือไม่

ตรวจสอบกรมธรรม์ ก่อนชำระเบี้ยประกันภัย
สัญญากรมธรรม์ประกันอัคคีภัยเป็นนิติกรรมประเภทหนึ่ง เมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์ พึงพิจารณาว่ารายละเอียดถูกต้องหรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกต้องให้แจ้งบริษัท หรือตัวแทนบริษัทแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน และกรมธรรม์ควรจัดเก็บไว้ในที่ปลอดภัย เพราะจำเป็นต้องใช้กรณีเกิดความเสียหายเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

ข้อแนะนำในการซื้อประกันอัคคีภัย
1. เมื่อเกิดความเสียหายจากเพลิงไหม้จะต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยเร็ว รวมถึงแจ้งรายละเอียดทรัพย์สินที่สูญเสียหรือเสียหาย รวมถึงมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินนั้นๆ
2. หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงการค้าหรือการผลิต การย้ายทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่ได้ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์จะต้องแจ้งให้บริษัททราบ
3. ถ้าหากมีการเปลี่ยนมือของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่ไม่ใช่โดยทางพินัยกรรมหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไปให้ผู้อื่น ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งการโอนให้บริษัททราบ เพื่อประโยชน์ในความคุ้มครองที่จะโอนตามไปด้วย
4. หากเลือกซื้อความคุ้มครองเป็นระยะเวลานานเบี้ยประกันจะมีราคาถูกมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากอัตราเบี้ยประกันภัยดังต่อไปนี้
1 ปี คิดเบี้ยประกันภัย 100%
2 ปี คิดเบี้ยประกันภัย 175%
3 ปี คิดเบี้ยประกันภัย 250%